วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แม่ไก่ใจดี

Nursery Rhymes - Clap Your Hands

เพลงเด็ก

การเล่นกับเพื่อน

มีความมั่นใจในตนเองค่ะ ที่สำคัญความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนนี้จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆ ได้อย่างง่ายดายด้วย

เล่นกับเพื่อน..ดี มีประโยชน์
ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ เมื่อเด็กๆ เล่นด้วยกัน พวกเขาจะมีการแบ่งปัน ร่วมมือกัน และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน แม้บางครั้งอาจมีเรื่องไม่ลงรอยเกิดขึ้น แต่สุดท้ายเด็กๆ ก็จะเรียนรู้และหาวิธีจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เอง ผู้ใหญ่จึงไม่ควรรีบเข้าไปจัดการกับปัญหาแทนเด็ก
ยกเว้นกรณีที่มีการใช้กำลังตัดสินปัญหา คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบเข้าไปแยกทันทีและอธิบายให้เข้าใจว่า การใช้กำลัง เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ไม่เป็นที่ยอมรับ และเพื่อนไม่ทำกับเพื่อนค่ะ
ฝึกเลียนแบบบทบาทคนรอบข้าง เด็กๆ ชอบเล่นบทบาทสมมติทั้งนั้นค่ะ โดยเขาจะเลียนแบบพฤติกรรม การแสดงออก สีหน้าท่าทาง การทำงาน จากที่เห็นในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก อธิบายให้ลูกรู้ว่าพฤติกรรมของคนรอบข้างที่ลูกได้เห็น แบบไหนทำได้ และแบบไหนที่ไม่ควรทำ
เสริมความมั่นใจไม่ว่าที่ไหนก็กล้าคิด กล้าพูด ขณะที่เด็กๆ เล่นกัน เขามีโอกาสที่จะเป็นผู้นำในการเล่น ร่วมกันปรึกษาหารือ แสดงความเห็น หรือแม้กระทั่งพูดโน้มน้าวเพื่อนๆ ให้คล้อยตาม ทั้งได้พัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา
ดังนั้นการเล่นเป็นกลุ่ม หรือทำกิจกรรมกลุ่มนี้ จะทำให้เด็กๆ กล้าแสดงออก รู้จักเป็นผู้นำ ผู้ตาม เป็นตัวแทนกลุ่มได้
+ ค้นพบตัวเอง เด็กๆ จะทำแต่สิ่งที่ตนเองสนใจ พวกเขาอาจสร้างกองดิน วาดภาพ สำรวจโลกรอบตัว สร้างสรรค์ชิ้นงาน อ่านหนังสือ ฟังดนตรี เล่นกีฬา ฯลฯ การปล่อยให้เด็กๆ ได้คิดทำ คิดเล่นอะไรด้วยตัวเอง จะทำให้เขารู้ถึงความสามารถ และความสนใจเฉพาะของตัวเอง
ฉะนั้น อย่าบังคับให้ลูกทำในสิ่งที่คุณสนใจ แต่ปล่อยให้เขาได้หาโอกาสสำรวจตัวเองว่าจริงๆ แล้วเขาต้องการอะไร อยากทำอะไร แล้วสนับสนุนให้เขาทำตามนั้น
พัฒนาทักษะการสื่อสาร ขณะที่เด็กๆ เล่นด้วยกันจะมีการพูดคุยปฏิสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาให้แข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังมีการคิดหาคำตอบด้วยตัวเอง รู้จักสอบถามเพื่อน หรือเด็กคนอื่น ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์อีกด้วย
..................................................

เตรียมพร้อมก่อนลุยเล่น
ก่อนให้ลูกเล่นกับเพื่อน คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมการนิดหน่อย เพื่อป้องกันความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นตามมา ดังนี้...
สอนทักษะทางสังคมเบื้องต้น
การสอนทักษะทางสังคมให้กับลูกทำได้ง่ายๆ เพียงแค่...
- แสดงให้ลูกเห็นพฤติกรรมที่คุณแสดงออกทางสังคม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เขาเกิดการพัฒนาตนเอง เช่น การฟัง การประนีประนอม การทำงานท่ามกลางความขัดแย้ง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นต้น
- เล่นกับลูก ทำให้ลูกคุ้นเคยกับการเล่นแบบหมู่คณะ ขณะเล่นควรมีการแสดงความคิดเห็น และแบ่งปันสิ่งของให้แก่กัน
- สอนการทักทายขั้นพื้นฐาน เช่น สวัสดี ลาก่อน และการยิ้ม เป็นต้น
เลือกของเล่นให้เหมาะสม
เลือกของเล่นและอุปกรณ์ในการเล่นที่เหมาะสมกับวัย ระลึกไว้เสมอว่า เด็กวัย 3-6 ปีนี้ บางคนยังไม่สามารถทำใจยอมรับเรื่องการแบ่งปันสิ่งของให้กับคนอื่นได้ จึงควรหาของเล่นที่ลูกสามารถเล่นคนเดียว และแบ่งกันเล่นกับเพื่อนได้ มาค่อยๆ ฝึกให้ลูกรู้จักการแบ่งปัน ซึ่งของเล่นที่เหมาะสมก็คือ...
- อุปกรณ์วาดภาพ ระบายสี
- หนังสือ ตัวต่อไม้ เลโก้
- ของเล่นที่เป็นเครื่องดนตรี
- ของเหลือใช้ที่สามารถนำมาเล่นบทบาทสมมติ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ชุดทำครัว ที่ไม่ใช้แล้ว
สถานที่เล่นสะดวก สนุก
หากคุณชวนเพื่อนๆ ของลูก หรือเด็กคนอื่นมาเล่นที่บ้าน คุณสามารถเตรียมสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยให้การเล่นของลูกและเพื่อนสนุกสนานยิ่งขึ้น ดังนี้ค่ะ
- พื้นที่ซึ่งมีขนาดใหญ่เพียงพอ ไม่แน่นหรืออึดอัดจนเกินไป
- อุปกรณ์การเล่นเพียบพร้อม เพียงพอที่เด็กๆ จะเลือกทำกิจกรรม และสร้างสรรค์กิจกรรมการเล่นด้วยตัวเอง

กิจกรรมสนุก ปลูกทักษะรอบด้าน
มีกิจกรรมสนุกๆ มาแนะนำค่ะ รับรองว่า...กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยเสริมทั้งพัฒนาการ และทักษะการเข้าสังคมให้กับลูกได้เป็นอย่างดี
เครื่องดนตรีแสนสนุก
ส่งเสริมให้ลูกเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ร่วมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องดนตรีจ๋า ประเภทกีตาร์ กลอง ฉิ่ง หรอกค่ะ หาพวกกระป๋องใส่ถั่วเขียวทำเป็นเครื่องดนตรีเขย่า กระทะกลายสภาพมาเป็นกลองก็สนุกกันได้ ไม่ต้องวิ่งหาของจริงให้เหนื่อย แถมลูกยังรู้จักดัดแปลงอีกด้วย
ศิลปะสุดหรรษา
ศิลปะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เด็กรู้จักการแบ่งปันได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ปล่อยให้เด็กๆ ได้วาด ระบายสิ่งต่างๆ บนกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมดินสอสีกล่องเดียว ที่พวกเขาจะต้องแบ่งกันใช้ คุณอาจเห็นว่าภาพแต่ละภาพที่พวกเขาวาดอาจแตกต่าง แต่สุดท้าย สิ่งที่จะได้เรียนรู้คือการเอื้ออาทร แบ่งปัน แถมยังได้เรื่องมิตรภาพจากการพูดคุยถึงสิ่งที่วาดกันอย่างสนุกสนานค่ะ
ปาร์ตี้แฟนซีเสื้อผ้าพ่อแม่
กล่องใส่เสื้อผ้าหลากชุดที่เหลือใช้แล้วของคุณ สามารถนำมาทำเป็นกิจกรรมให้เด็กๆ สนุกได้ ลองหาลังใบใหญ่ มาใส่เสื้อผ้าชุดเก่า หมวก ถุงมือ ถุงเท้า ฯลฯ ให้เด็กๆ เล่นสิคะ รับรองคุณจะได้ยินเสียงหัวร่อต่อกระซิกจากเด็กๆ ที่ได้เอาเสื้อผ้าชุดเก่าของคุณแม่ หรือเชิ้ตตัวเก่าของคุณพ่อมาสวมใส่เล่น จนเพลินเชียล่ะ
ตัวต่อพาเพลิน
ตัวต่อไม้ หรือของเล่นพลาสติก เป็นที่โปรดปรานของเด็กวัยคิดส์ทุกคนค่ะ ปล่อยให้พวกเขาได้ล้อมวงเล่น หยิบยื่นตัวต่อให้กัน ช่วยกันต่อก่อเป็นรูปร่างตามจินตนาการ จะช่วยฝึกให้เด็กๆ รู้จักการยอมรับความคิดคนอื่น และช่วยเหลือกันและกันได้ดีค่ะ
กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ
อะไรจะสนุกไปกว่าการเล่นฟุตบอล วิ่งไล่จับกับเพื่อนๆ อีกล่ะคะ การเล่นกีฬาจะทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้จักการแพ้ ชนะ การให้อภัย ช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม และลูกยังได้ออกกำลังกายด้วยค่ะ
ถึงแม้จะมีกิจกรรมต่างๆ มากมายเพื่อเสริมทักษะสังคมให้กับลูก แต่ต้องยอมรับว่า มนุษย์ไม่สามารถเป็นเพื่อน หรือเล่นกับทุกคนที่เพิ่งพบเจอค่ะ

เพราะฉะนั้น พยายามหลีกเลี่ยงการบังคับเมื่อลูกไม่พร้อม เพราะการเรียนรู้ทักษะทางสังคม การสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต อย่าคาดหวังมากเกินไป ควรใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป ทักษะเหล่านี้ก็จะค่อยๆ พัฒนาขึ้นค่ะ

เรารู้กันอยู่แล้วว่าเด็กๆ นั้นจะสามารถเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่น ยิ่งถ้าได้เล่นกับเพื่อนๆ ด้วยแล้ว จะช่วยพัฒนาทักษะได้มากมาย ทั้งสังคม อารมณ์ และจิตใจเลยล่ะค่ะ

เพื่อนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กทุกคน การได้เล่นกับเพื่อน จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน เด็กที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีเพื่อนเยอะแยะ

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมเสริมทักษะสำหรับเด็กปฐมวัย

10 เหตุผลที่เด็กต้องอ่านนิทาน


นิทานมักจะถูกโยงให้คู่กับเด็กมานมนาน เป็นเพราะว่านิทานเป็นสื่อที่ดีที่สุดในการที่ผู้ใหญ่จะสื่อกับเด็ก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสารพิษของสื่อรอบตัวที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก นิทานแทบจะเป็นสื่อชนิดเดียวในเวลานี้ที่สามารถสื่อกับเด็กเล็กได้ดีที่สุด และแยบยลตรงประเด็นมากที่สุด เพราะว่านิทานมีเนื้อหาใกล้ตัวเด็ก และผู้ใหญ่ก็สามารถเลือกเพื่อตอบสนองเรื่องราวที่ต้องการจะบอกเล่าหรือสอนเด็กได้
         ในที่นี้ต้องขอย้ำว่าเฉพาะนิทานดีๆ เท่านั้น
หลังจากที่ได้พูดคุยกับคุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการมูลนิธิเด็ก หรือที่รู้จักกันในนาม “พี่ปอง” ของเด็กๆด้อยโอกาสที่ได้ไปคลุกคลีตีโมง เพื่อนำนิทานเป็นสะพานเชื่อมไปสู่วิถีชีวิตและการเรียนรู้ของเด็ก ทุกวันนี้กลุ่มเด็กๆ ที่พี่ปองได้ไปสัมผัสและนำนิทานไปสู่เด็กๆ เหล่านั้น ได้รับแรงบันดาลใจ และได้ทำนิทานของตัวเองขึ้นมาบ้าง เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและเป็นมุมสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กได้ดีทีเดียว เป็นเรื่องที่ออกมาจากจิตใจ และสิ่งที่ประสบพบเจอมาในชีวิต
ที่ผ่านมา..ผลพิสูจน์ชัดเจนว่าการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ดี แต่สถิติเรื่องการอ่านในบ้านเรายังน้อยอย่างน่าสลดหดหู่ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนที่ว่าวิถีชีวิตคนเรามักสวนทางกับความเป็นจริงเสมอ และ...คนเราก็มักสร้างความชอบธรรมทำให้ตัวเองเสมอมิใช่หรือ..!
อาหารฟาสต์ฟูดไม่ดี ..แต่อร่อยนี่นา
ออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ..แต่ไม่มีเวลานี่
หนังสือเป็นประตูแห่งขุมปัญญา ..แต่ขี้เกียจน่ะ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ถูกถ่ายทอดไปสู่เด็กๆ อย่างแน่นอน ก็ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างเช่นนี้ แล้วไยเด็กจะไม่ทำตามล่ะ...
เด็กก็ถูกอบรมสั่งสอนมาโดยตลอดว่า “ให้เชื่อในสิ่งที่เห็นมากกว่าในสิ่งที่บอก” เรื่องการอ่านหนังสือเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการปลูกฝังและซึมซับจากสิ่งแวดล้อม หากผู้ใหญ่ละเลยสิ่งเหล่านี้แล้วปากก็ปาวๆ ว่าทำไมลูกไม่รักการอ่านหนอ หรือทำไมลูกไม่ชอบอ่านหนังสือก็คงเปล่าประโยชน์
นิทานเป็นสะพานเชื่อมไปสู่เด็ก เป็นประตูไปสู่โลกใบใหญ่ของเจ้าตัวเล็ก

เราลองมาดูเหตุผล 10 ประการที่พี่ปองบอกเราว่าผู้ใหญ่ควรอ่านนิทานให้เด็กฟังกันค่ะ
1. นิทานเป็นตัวบ่มเพาะศีลธรรมในชีวิต นทุกชาติทุกภาษา ชาวต่างชาติเองก็มีนิทานอีสปซึ่งมีมานานกว่า3 พันปีแล้ว คนไทยเองก็มีนิทานเก่าๆที่มีการสอนศีลธรรมเยอะมาก 
2. นิทานทำให้เด็กรู้สึกว่าไม่ได้ถูกสอน อย่างเรื่องราชสีห์กับหนู เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากในเรื่องการใช้ชีวิตที่สมดุล เราชอบสอนเด็กว่าคนตัวใหญ่ต้องช่วยคนตัวเล็ก คนมีมากกว่าต้องช่วยคนมีน้อยกว่า แต่เรื่องนี้สอนว่าคนตัวเล็กก็ต้องเกื้อกูลคนตัวใหญ่ในเงื่อนไขที่เกื้อกูลได้ด้วย อันนี้คือความแยบยลของนิทาน โลกเราจะรอดเพราะความกตัญญู ถ้าวันหนึ่งวันใดความกตัญญูหายไป ชีวิตเราก็ไม่รอด โลกก็ไม่รอด
3. นิทานเป็นหลายๆสิ่งในชีวิต ไม่ใช่แค่ความฝัน ไม่ใช่แค่จินตนาการ แต่เป็นเนื้อเดียวกันกับชีวิต นิทานเป็นสะพานสำคัญมากและสวยงามมากที่ผู้ใหญ่ใช้เชื่อมไปถึงเด็ก ทำให้ผู้ใหญ่เข้าไปอยู่ในใจของเด็กๆ ได้อย่างแยบยล 
4. นิทานหลายๆ เรื่องพูดเรื่องบุคลิกภาพว่าต้องเป็นคนแข็งแรง ต้องเป็นผู้นำในการพาชีวิตตนและผู้อื่นไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า เช่น เรื่องหมีปวดฟันบอกเราว่า ถ้ากินอาหารที่มีประโยชน์ก็จะมีสุขภาวะที่ดี หรืออย่างเรื่องช้างน้อยใจอารี สอนเด็กว่าถ้าเราเป็นเด็กเกเรเราก็จะไม่มีเพื่อน สุดท้ายแล้วนิทานทุกเรื่องสอนศีลธรรมและจริยธรรมทุกด้าน
5. นิทานหลายๆเรื่องพูดเรื่องวัฒนธรรมและการกินอยู่ เป็นการเปิดโลกการเรียนรู้ให้กับเด็กทำให้รู้ว่าที่ไหนมีบริบททางวัฒนธรรมอย่างไร
6. ตัวอย่างนิทานเรื่อง “กระต่ายตื่นตูม” สังคมไทยเป็นสังคมตื่นตูม ไม่ได้ไปดูที่จุดเกิดเหตุว่ามันเกิดจากอะไร แต่วิ่งไปก่อนตื่นตูมไปก่อน บาดเจ็บไปก่อนแล้วค่อยมาสอน มันอยู่ที่เราจะเอาแก่นของนิทานมาพูดคุยกับเด็กได้ไหม 
7. นิทานสร้างความผูกพันในครอบครัว ถึงแม้ว่าการพูดคุยกันในชีวิตประจำวันจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเรามีเนื้อเรื่องสนุกสนานมีคำสวยๆมันจะจูงใจในการพูดคุยได้มากกว่า
8. สมมติว่าแม่คนหนึ่งมีนิทานอีสปอยู่ในใจ เขาจะสอนลูกได้ทุกเรื่องว่าจะใช้ชีวิตยังไง จะทำตัวยังไงให้มีวินัยก็เล่านิทานไปได้เรื่อยๆ ไม่ต้องมานั่งสอนทีละขั้นเป็น 1, 2, 3, 4 ...
9. เวลาเล่านิทานลูกจะคลุกคลีกับพ่อแม่ เวลาก่อนนอนจะเป็นช่วงมหัศจรรย์มากที่พ่อแม่สอนทุกอย่างให้ลูกได้ เพราะเป็นเวลาสบายๆ พ่อแม่ได้พูดคุยกับลูก เล่าเรื่อง จับมือลูก กอดลูกขณะเล่านิทาน ลูกรับรู้ได้เลยว่าความรักที่พ่อแม่มีให้เป็นยังไง หรือว่าระหว่างให้นมลูกแม่เล่านิทานที่เป็นคำคล้องจอง ลูกก็จะได้ฟังเสียงแม่ที่อ่อนโยน ได้ฟังคำเพราะๆ เป็นวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีมากๆ 
10. การเล่านิทานเป็นการลงทุนในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ลงทุนน้อยแต่ใช้ปัญญาเยอะ ถ้าพ่อแม่มาลงทุนด้วยเวลาที่จะให้กับลูกเพื่อเล่านิทาน คิดว่าสิ่งที่จะได้มันมากมายมหัศจรรย์จริง ๆ

อ่านถึงบรรทัดนี้แล้ว คุณมีเหตุผลของคุณที่จะเล่านิทานให้ลูกฟังหรือยังคะ


วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อนาคตของชาติ

พฤติกรรมเด็กวัยซน

9 พฤติกรรมเด่นของวัยซน
เขียนโดย มนต์ชยา   
            จากการรวบรวมสารพัดปัญหาของวัยซนที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักเป็นกังวล เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นอาการผิดปกติหรือไม่ และไม่ทราบว่าจะแก้ไขอาการเหล่านี้อย่างไร ฉบับนี้มีวิธีป้องกันและแก้ไขมาฝากค่ะ
 1. อมข้าว…อีกแล้วลูกแม่ สาเหตุ ไม่หิว ต่อต้านวิธีที่ใช้การบีบบังคับ ฝึกไม่ถูกวิธี เช่น ดูทีวีไปป้อนข้าวไป เรียกร้องความสนใจหรือรางวัลจากพ่อแม่ วิธีการป้องกันและแก้ไข ไม่ควรดื่มนมหรือขนมระหว่างมื้อ ให้เจ้าตัวเล็กป้อนข้าวด้วยตัวเอง ไม่ติดสินบนด้วยรางวัล จัดบรรยากาศที่โต๊ะกินข้าวให้ดี และเป็นที่เป็นทาง พาเจ้าตัวเล็กออกกำลังกายบ่อยๆ เสมอต้นเสมอปลายในการฝึก
2. ทำไมลูกกลัวคนแปลกหน้า สาเหตุ เป็นสัญชาตญาณประจำตัว ถ้าไม่มีเลยก็ทำให้ไว้ใจคนมากเกินไป มีการขู่หรือใช้เสียงดัง ให้กลัวหรือตกใจบ่อยๆ ไม่มั่นใจในพ่อแม่ เป็นเด็กขี้วิตกกังวลสูง วิธีแก้ไข ตอบสนองความต้องการของเจ้าตัวน้อยอย่างสม่ำเสมอ ด้วยท่าทีที่อบอุ่น และคาดเดาได้ เพื่อสร้างความมั่นใจในตนเอง ฝึกให้เจ้าตัวเล็กทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น กินข้าว อาบน้ำ
3. ทำไงดี ลูกไม่นอนกลางคืน สาเหตุ เจ้าตัวเล็กรอคุณกลับบ้านและรอนอนพร้อมคุณ เคยปลุกมาเล่นกลางคืนเมื่อยังแบเบาะ เคยมีประสบการณ์ถูกทอดทิ้ง วิธีแก้ไข ไม่ควรให้นอนช่วงบ่ายนานเกินไป ให้เข้านอนตรงเวลาสม่ำเสมอ อาจเล่านิทานให้ฟังเป็นสัญญาณว่าถึงเวลานอนแล้ว ให้ออกกำลังกายมากๆ ช่วงกลางวัน สร้างความมั่นใจให้กับเจ้าตัวเล็กว่าจะไม่ทอดทิ้ง เลิกเล่นกับเจ้าตัวเล็กกลางดึก เปลี่ยนเป็นเล่านิทานแทน
4. ลูกพูดช้าเพราะอะไร ? สาเหตุ ขาดคนเล่นด้วย ถูกขังไว้กับของเล่น เพราะผู้ใหญ่ไม่มีเวลา พ่อแม่ทำให้เจ้าตัวเล็กทุกอย่าง จึงไม่จำเป็นต้องพูดออกมา วิธีแก้ปัญหา ให้เจ้าตัวเล็กอยู่ท่ามกลางคนที่พูด และเล่นกับเขา เปิดโอกาสให้เจ้าตัวเล็กพูดถึงความต้องการของตัวเองก่อน ซึ่งต้องอาศัยความใจเย็นในการรับฟัง
5. ติดขวดนม…แก้อย่างไร ? สาเหตุ พ่อแม่มักใจอ่อนเมื่อเจ้าตัวเล็กร้องขอเพียงแต่ร้อง ขวดนมก็มาหาแล้ว พ่อแม่มักกลัวว่าแคลเซียมจากอาหารไม่พอ วิธีแก้ไข เลิกนมมื้อที่ขัดขวางพัฒนาการของเจ้าตัวเล็กก่อน เช่น นมมื้อดึก เนื่องจากขัดขวางฮอร์โมนที่เพิ่มความสูง (growth hormone) และขัดขวางการหลับต่อเนื่องของเขา ลดปริมาณนมในขวดลงเรื่อยๆ ภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยเปลี่ยนมาใส่แก้วหรือดูดหลอดแทน หากกังวลว่าจะไม่ได้สารอาหารเพียงพอ ใจแข็ง ตัดสินใจวันใดวันหนึ่งให้เลิกทันที เจ้าตัวเล็กจะโวยวาย 1-2 สัปดาห์ แต่เขาจะค่อยๆ ปรับตัวยอมรับ จะเห็นว่าสาเเหตุของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยหรือตามใจจนทำให้เจ้าตัวเล็กเข้าใจว่าทำได้ จนติดเป็นนิสัย ดังนั้นการปรับเปลี่ยนมาให้เจ้าตัวเล็กทำในสิ่งที่ถูกต้อง ความใจเย็นและสม่ำเสมอจำเป็นที่สุดค่ะ
6. ลูกแม่ขี้แย…สุดๆ สาเหตุ ขาดความรักความสนใจจากผู้ใหญ่ จนไม่มั่นใจต่อสิ่งรอบตัว ไม่ได้ถูกฝึกให้ช่วยเหลือตัวเอง จึงขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า วิธีแก้ไข ฝึกให้ช่วยเหลือตัวเอง และช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ เช่น ใส่เสื้อผ้าเอง ป้อนข้าวเอง ช่วยรดน้ำต้นไม้ พูดคุย ดูแลเจ้าตัวเล็กจากการถูกยั่วแหย่
7. ขับถ่าย…เลอะเทอะไปหมด สาเหตุ ไม่เข้าใจวิธีการ ใจร้อน รวบรัด ไม่เข้าใจพัฒนาการของเจ้าตัวเล็ก ช่วงที่ควรฝึกคืออายุ 1 ปีขึ้นไป แต่เป็นช่วงที่เป็นตัวของตัวเองมากที่สุดถ้าไปบีบบังคับ จะยิ่งทำให้เกิดปัญหา ไม่ชินกับการถอดกางเกง วิธีแก้ไข การฝึกต้องมีความละเอียดอ่อน เพราะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกของเจ้าตัวเล็ก ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาการ และเกี่ยวข้องกับเทคนิคของผู้ฝึก ซึ่งต้องทำเป็นขั้นตอน จึงต้องใจเย็น ไม่เร่งรัด แต่ต้องมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันด้วยการให้กำลังใจ และคอยปรับปรุงแบบการฝึกเพื่อให้เข้ากับเจ้าตัวเล็ก สม่ำเสมอในการฝึก เพราะระยะการฝึกค่อนข้างยาว
8. ทำไมลูกชอบดูดนิ้ว สาเหตุ เป็นพฤติกรรมของธรรมชาติในขวบปีแรก พอเข้าขวบปีที่ 2 ยังถูกปล่อยให้ยึดติดกับพฤติกรรมนี้ โดยไม่มีการเบี่ยงเบนความสนใจ จนอาจติดเป็นนิสัย ความเครียด ความวิตกกังวล เช่นกลัวถูกพลัดพลาด พบเหตุการณ์ที่ตื่นเต้น ฯลฯ วิธีแก้ไข เบี่ยงเบนความสนใจ โดยหมั่นดึงนิ้วออกจากปากเจ้าตัวเล็กทุกครั้งอย่างนุ่มนวล แล้วให้ถือของเล่นแทนเพื่อให้ลืมการดูดนิ้ว ปรับเปลี่ยนลักษณะอาหารให้ต้องเคี้ยวมากขึ้น จนไม่อยากใช้กล้ามเนื้อปากทำอะไรอีก แม้แต่ดูดนิ้ว ออกกำลังกาย เพื่อให้เวลาการดูดนิ้วขณะหลับสั้นลง
9. โอะโอ๋! ร้องดิ้น อาละวาด สาเหตุ เรียกร้องความสนใจ หรือเอาแต่ใจตัวเอง โดยเจ้าตัวเล็กรู้ว่าวิธีนี้ผู้ใหญ่จะยอมตาม ถูกยุแหย่ให้โกรธสุดขีด ขาดคนเข้าใจ วิธีแก้ไข ขณะเจ้าตัวเล็กอาละวาด ไม่ควรสนใจหรือห้ามปราม เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมนี้ ถ้าทำร้ายผู้อื่นหรือทำลายข้าวของ ให้จับแขนเขาไว้ แล้วกอดไม่ควรจับแรงหรือจับตัวเพื่อเป็นการลงโทษ แต่เพื่อควบคุมไม่ให้ทำร้ายคนอื่น แล้วพูดเหตุผลด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยง ลดการตามใจ หรือลดการยั่วให้โกรธ
[ ที่มา..นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.165 April 2007]