วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเล่นกับเพื่อน

มีความมั่นใจในตนเองค่ะ ที่สำคัญความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนนี้จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆ ได้อย่างง่ายดายด้วย

เล่นกับเพื่อน..ดี มีประโยชน์
ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ เมื่อเด็กๆ เล่นด้วยกัน พวกเขาจะมีการแบ่งปัน ร่วมมือกัน และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน แม้บางครั้งอาจมีเรื่องไม่ลงรอยเกิดขึ้น แต่สุดท้ายเด็กๆ ก็จะเรียนรู้และหาวิธีจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เอง ผู้ใหญ่จึงไม่ควรรีบเข้าไปจัดการกับปัญหาแทนเด็ก
ยกเว้นกรณีที่มีการใช้กำลังตัดสินปัญหา คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบเข้าไปแยกทันทีและอธิบายให้เข้าใจว่า การใช้กำลัง เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ไม่เป็นที่ยอมรับ และเพื่อนไม่ทำกับเพื่อนค่ะ
ฝึกเลียนแบบบทบาทคนรอบข้าง เด็กๆ ชอบเล่นบทบาทสมมติทั้งนั้นค่ะ โดยเขาจะเลียนแบบพฤติกรรม การแสดงออก สีหน้าท่าทาง การทำงาน จากที่เห็นในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก อธิบายให้ลูกรู้ว่าพฤติกรรมของคนรอบข้างที่ลูกได้เห็น แบบไหนทำได้ และแบบไหนที่ไม่ควรทำ
เสริมความมั่นใจไม่ว่าที่ไหนก็กล้าคิด กล้าพูด ขณะที่เด็กๆ เล่นกัน เขามีโอกาสที่จะเป็นผู้นำในการเล่น ร่วมกันปรึกษาหารือ แสดงความเห็น หรือแม้กระทั่งพูดโน้มน้าวเพื่อนๆ ให้คล้อยตาม ทั้งได้พัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา
ดังนั้นการเล่นเป็นกลุ่ม หรือทำกิจกรรมกลุ่มนี้ จะทำให้เด็กๆ กล้าแสดงออก รู้จักเป็นผู้นำ ผู้ตาม เป็นตัวแทนกลุ่มได้
+ ค้นพบตัวเอง เด็กๆ จะทำแต่สิ่งที่ตนเองสนใจ พวกเขาอาจสร้างกองดิน วาดภาพ สำรวจโลกรอบตัว สร้างสรรค์ชิ้นงาน อ่านหนังสือ ฟังดนตรี เล่นกีฬา ฯลฯ การปล่อยให้เด็กๆ ได้คิดทำ คิดเล่นอะไรด้วยตัวเอง จะทำให้เขารู้ถึงความสามารถ และความสนใจเฉพาะของตัวเอง
ฉะนั้น อย่าบังคับให้ลูกทำในสิ่งที่คุณสนใจ แต่ปล่อยให้เขาได้หาโอกาสสำรวจตัวเองว่าจริงๆ แล้วเขาต้องการอะไร อยากทำอะไร แล้วสนับสนุนให้เขาทำตามนั้น
พัฒนาทักษะการสื่อสาร ขณะที่เด็กๆ เล่นด้วยกันจะมีการพูดคุยปฏิสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาให้แข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังมีการคิดหาคำตอบด้วยตัวเอง รู้จักสอบถามเพื่อน หรือเด็กคนอื่น ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์อีกด้วย
..................................................

เตรียมพร้อมก่อนลุยเล่น
ก่อนให้ลูกเล่นกับเพื่อน คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมการนิดหน่อย เพื่อป้องกันความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นตามมา ดังนี้...
สอนทักษะทางสังคมเบื้องต้น
การสอนทักษะทางสังคมให้กับลูกทำได้ง่ายๆ เพียงแค่...
- แสดงให้ลูกเห็นพฤติกรรมที่คุณแสดงออกทางสังคม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เขาเกิดการพัฒนาตนเอง เช่น การฟัง การประนีประนอม การทำงานท่ามกลางความขัดแย้ง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นต้น
- เล่นกับลูก ทำให้ลูกคุ้นเคยกับการเล่นแบบหมู่คณะ ขณะเล่นควรมีการแสดงความคิดเห็น และแบ่งปันสิ่งของให้แก่กัน
- สอนการทักทายขั้นพื้นฐาน เช่น สวัสดี ลาก่อน และการยิ้ม เป็นต้น
เลือกของเล่นให้เหมาะสม
เลือกของเล่นและอุปกรณ์ในการเล่นที่เหมาะสมกับวัย ระลึกไว้เสมอว่า เด็กวัย 3-6 ปีนี้ บางคนยังไม่สามารถทำใจยอมรับเรื่องการแบ่งปันสิ่งของให้กับคนอื่นได้ จึงควรหาของเล่นที่ลูกสามารถเล่นคนเดียว และแบ่งกันเล่นกับเพื่อนได้ มาค่อยๆ ฝึกให้ลูกรู้จักการแบ่งปัน ซึ่งของเล่นที่เหมาะสมก็คือ...
- อุปกรณ์วาดภาพ ระบายสี
- หนังสือ ตัวต่อไม้ เลโก้
- ของเล่นที่เป็นเครื่องดนตรี
- ของเหลือใช้ที่สามารถนำมาเล่นบทบาทสมมติ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ชุดทำครัว ที่ไม่ใช้แล้ว
สถานที่เล่นสะดวก สนุก
หากคุณชวนเพื่อนๆ ของลูก หรือเด็กคนอื่นมาเล่นที่บ้าน คุณสามารถเตรียมสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยให้การเล่นของลูกและเพื่อนสนุกสนานยิ่งขึ้น ดังนี้ค่ะ
- พื้นที่ซึ่งมีขนาดใหญ่เพียงพอ ไม่แน่นหรืออึดอัดจนเกินไป
- อุปกรณ์การเล่นเพียบพร้อม เพียงพอที่เด็กๆ จะเลือกทำกิจกรรม และสร้างสรรค์กิจกรรมการเล่นด้วยตัวเอง

กิจกรรมสนุก ปลูกทักษะรอบด้าน
มีกิจกรรมสนุกๆ มาแนะนำค่ะ รับรองว่า...กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยเสริมทั้งพัฒนาการ และทักษะการเข้าสังคมให้กับลูกได้เป็นอย่างดี
เครื่องดนตรีแสนสนุก
ส่งเสริมให้ลูกเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ร่วมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องดนตรีจ๋า ประเภทกีตาร์ กลอง ฉิ่ง หรอกค่ะ หาพวกกระป๋องใส่ถั่วเขียวทำเป็นเครื่องดนตรีเขย่า กระทะกลายสภาพมาเป็นกลองก็สนุกกันได้ ไม่ต้องวิ่งหาของจริงให้เหนื่อย แถมลูกยังรู้จักดัดแปลงอีกด้วย
ศิลปะสุดหรรษา
ศิลปะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เด็กรู้จักการแบ่งปันได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ปล่อยให้เด็กๆ ได้วาด ระบายสิ่งต่างๆ บนกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมดินสอสีกล่องเดียว ที่พวกเขาจะต้องแบ่งกันใช้ คุณอาจเห็นว่าภาพแต่ละภาพที่พวกเขาวาดอาจแตกต่าง แต่สุดท้าย สิ่งที่จะได้เรียนรู้คือการเอื้ออาทร แบ่งปัน แถมยังได้เรื่องมิตรภาพจากการพูดคุยถึงสิ่งที่วาดกันอย่างสนุกสนานค่ะ
ปาร์ตี้แฟนซีเสื้อผ้าพ่อแม่
กล่องใส่เสื้อผ้าหลากชุดที่เหลือใช้แล้วของคุณ สามารถนำมาทำเป็นกิจกรรมให้เด็กๆ สนุกได้ ลองหาลังใบใหญ่ มาใส่เสื้อผ้าชุดเก่า หมวก ถุงมือ ถุงเท้า ฯลฯ ให้เด็กๆ เล่นสิคะ รับรองคุณจะได้ยินเสียงหัวร่อต่อกระซิกจากเด็กๆ ที่ได้เอาเสื้อผ้าชุดเก่าของคุณแม่ หรือเชิ้ตตัวเก่าของคุณพ่อมาสวมใส่เล่น จนเพลินเชียล่ะ
ตัวต่อพาเพลิน
ตัวต่อไม้ หรือของเล่นพลาสติก เป็นที่โปรดปรานของเด็กวัยคิดส์ทุกคนค่ะ ปล่อยให้พวกเขาได้ล้อมวงเล่น หยิบยื่นตัวต่อให้กัน ช่วยกันต่อก่อเป็นรูปร่างตามจินตนาการ จะช่วยฝึกให้เด็กๆ รู้จักการยอมรับความคิดคนอื่น และช่วยเหลือกันและกันได้ดีค่ะ
กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ
อะไรจะสนุกไปกว่าการเล่นฟุตบอล วิ่งไล่จับกับเพื่อนๆ อีกล่ะคะ การเล่นกีฬาจะทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้จักการแพ้ ชนะ การให้อภัย ช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม และลูกยังได้ออกกำลังกายด้วยค่ะ
ถึงแม้จะมีกิจกรรมต่างๆ มากมายเพื่อเสริมทักษะสังคมให้กับลูก แต่ต้องยอมรับว่า มนุษย์ไม่สามารถเป็นเพื่อน หรือเล่นกับทุกคนที่เพิ่งพบเจอค่ะ

เพราะฉะนั้น พยายามหลีกเลี่ยงการบังคับเมื่อลูกไม่พร้อม เพราะการเรียนรู้ทักษะทางสังคม การสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต อย่าคาดหวังมากเกินไป ควรใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป ทักษะเหล่านี้ก็จะค่อยๆ พัฒนาขึ้นค่ะ

เรารู้กันอยู่แล้วว่าเด็กๆ นั้นจะสามารถเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่น ยิ่งถ้าได้เล่นกับเพื่อนๆ ด้วยแล้ว จะช่วยพัฒนาทักษะได้มากมาย ทั้งสังคม อารมณ์ และจิตใจเลยล่ะค่ะ

เพื่อนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กทุกคน การได้เล่นกับเพื่อน จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน เด็กที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีเพื่อนเยอะแยะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น